Animated Cool Shiny Blue Pointer

Week 8 รีวิวโปรแกรม vegas pro 11

Sony Vegas Pro 11.0.370 (x86/x64)
ขอขอบคุณรูปภาพจาก http://www.gfxtr.com


vegas pro 11 คืออะไร

Vegas หรือ ชื่อเต็ม คือ Sony Vegas คือโปรแกรมตัดต่อวิดีโอบนระบบปฏิบัติการWindows มีชื่อเสียง ตัวหนึ่ง เนื่องจากมีราคาแพง ประมาณ400-600 USD นับตั้งแต่รุ่น 2มา (ไม่ใช่ vegas movie studio ที่ตัดความสามารถออก
                เนื่องจาก การใช้งานที่ง่ายแต่มีอะไรที่ซับซ้อนอยู่ลึกๆ มีลูกเล่นมากพอที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ซึ่งแตกต่างจาก โปรแกรมราคาถูกๆ ทั่วไป เช่น Ulead ...Nero... เป็นต้นที่ทำได้น้อยกว่า และไม่ยืดหยุ่นในการใช้งานเท่า(ความสามารถตามราคา)โดยสามารถคลิ้กลาก แล้ววาง (Drag and Drop)และ คลิ้กขวา โดยใช้ mouse ก็ตัดต่อได้แล้ว ด้วยการทำงานแบบชั้น(layer)คล้ายๆกับโปรแกรม Photoshop และมี Effect และ Transition ที่มากพอเช่นเดียวกับโปรแกรมอื่นๆที่สำเร็จรูปมาให้ใช้ได้ทันที จึงทำความเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยัง สามารถในการตัดต่อภาพและเสียงไปพร้อมกันได้เลย ซึ่งเป็นความสามารถอันโดดเด่นสำหรับVegas ซึ่งหาตัวจับได้ยาก ที่จะมีโปรแกรมที่ทำได้แบบนี้

เดิมที โปรแกรมนี้ เป็นของ SonicFoundry ซึ่งแต่เดิม โปรแกรมของบริษัทนี้ เป็นโปรแกรมตัดแต่งเสียงดนตรี ต่อมาจึงพัฒนามีโปรแกรมตัดต่อ วิดีโอ ซึ่งเรื่องเสียงเป็นจุดแข็งของโปรแกรมนี้เลยก็ว่าได้
vegas pro 11ดังนั้นโปรแกรมตัดต่อภาพที่มีประสิทธิภาพมากมีเงื่อนไงการติดตั้งดังนี้

1. Microsoft net framework 2.0

2. Directx เวอร์ชั่น 9.0c ขึ้นไป

3. Ram 512 mb เป็นอย่างน้อย

4.พื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ 500 mb

5. Cpu p4 2.80 G หรือ สูงกว่า

6.ใช่window รุ่น 7 หรือมากกว่า

การใช้งานเบื้องต้น

1. space bar    =     คือ ใช้สำหรับ Play / Stop หรือการเล่นการหยุด งานใน timeline

2.     S             =     คือ ใช้สำหรับตัด clip ให้เป็นท่อนๆ

3.    Ctrl + c    =     คือ การ copy file วีดีโอ

4.   Ctrl + v     =     คือ การวาง file วีดีโอในตำแหน่งที่เราต้องการ

5.    Ctrl + x     =    คือ การคัตวีดีโอเพื่อจะนำไปวางในส่วนอื่น

6.    Ctrl + z    =     คือ ย้อนกลับการทำครั้งล่าสุด 1 ครั้ง

7.    V              =    คือ การมาร์คจุดเพิ่ม / ลด เสียงตามที่เราต้องการ

8.    V  และตามด้วย Shift  =  คือ การเพิ่มลดเสียงอย่างง่าย โดยการกด Shift ค้าง จะให้เป็นสัญลักษ์รูป
                                                    ดินสอ ขึ้นสามารถลากเพิ่มลดเสียงตามที่เราต้องการ

9.  U                  =   คือ การแยกภาพและเสียงออกจากกัน

10 ctrl + g         =   คือ การรวม file วีดีโอแต่ละชิ้นมารวมกันโดยการกด ctrl ค้างไว้เลือก file ที่ต้องการ                                   รวมจากนั้นกด g ก็จะเป็นวีดีโอก้อนเดียวกัน

11.  Ctrl + s       =   คือ การเซฟงานครั้งล่าสุดที่เราทำไว้




ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/m68n04sony/home
                                    https://www.youtube.com/watch?v=AqmfptUrgfw ของผู้ใช้ id youtube ชื่อ Puss'x



Week 9 เรื่องที่นักเรียนสนใจ การเป็นวิศวกรเคมี

ขอบคุญรุปภาพจาก http://eduspiral.com





ความหมายของอาชีพวิศวกรเคมี


               วิศวกรเคมี (chemical engineering) เป็นอาชีพที่ผสมการใช้ทักษะด้านวิทยาศาสตร์คือความรู้ด้านฟิสิกส์ และเคมี, คณิตศาสตร์, ของไหล, การแลกเปลี่ยนความร้อน เศรษฐศาสตร์ และสิ่งอื่นๆมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบในโรงงาน หรือสถานที่ต่างๆ หรือเคมีภัณฑ์ ให้อยู่ในรูปที่มีประโยชน์อย่างสูงสุด และใช้ต้นทุนให้ได้ต่ำที่สุด
              ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าวิศวกรเคมีเป็นอาชีพที่ทั้งการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมีในระดับมหภาพ มักจะถูกเรียกว่าวิศวกรกระบวนการ (Process Engineer)


งานตรงกับอาชีพวิศวกรเคมี

เราสามารถแบ่งโรงงานอุตสาหกรรมได้คร่าวๆ 2 แบบ คือ แบบ line ผลิต (assembly line หรือ manufacturingline) เช่นพวกโรงงานประกอบรถยนต์ อีกแบบหนึ่งคือแบบกระบวนการผลิต                           (process industry) เช่นโรงงานปูนซิเมนต์ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม โรงงานสบู่ ผงซักฟอก โรงงานเคมี         โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้นซึ่งวิศวกรรมเคมีจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแบบหลังมากกว่า และพื้นฐานความคิดที่มองระบบเป็นกระบวนการ(process) ทำให้สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตเหล่านี้ได้ง่าย
*(งานวิศวกรเคมีส่วนใหญ่มีเงินเดือนเกิน 3 หมื่นขึ้นไปเป็นอย่างน้อยที่สุด) ดังนั้นงานที่วิศวกรเคมีเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นกระบวนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ สรุปเป็นลักษณะของงานจะได้ดังนี้


(1) งานในกระบวนการผลิต เช่น วิศวกรผลิต (Production engineerหรือprocessengineer)
ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม ดูแล และปรับปรุง แก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต หรืออาจเรียกว่าเป็นงานด้าน operation เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงงานสารเคมีต่างๆซึ่งโรงงานเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมหนักจึงมักตั้งอยู่ในต่างจังหวัดซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้บัณฑิตจำนวนหนึ่งไม่ต้องการทำงานลักษณะนี้ตัวอย่างบริษัทที่มีวิศวกรที่ทำหน้าที่นี้ เ
ช่น เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย  (กลุ่มบริษัทปิโตรเคมีของเครือซิเมนต์ไทย) บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) บริษัท ไทยออลย์ บริษัทเอสโซ่ บริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ (อันนี้โรงงานอยู่ใน กทม.) เป็นต้น

(2) งานโครงการ ได้แก่ วิศวกรโครงการ (Project engineer) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงงาน                 ในลักษณะที่เป็นกระบวนการผลิตรวมไปถึงงานเตรียมความพร้อมของโรงงานก่อนเริ่มการผลิตจริง (Commissioning)ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้าน operation มาด้วย งานโครงการนี้อาจรวมไปถึงการบริหารโครงการด้วยและจะต้องประสานกับวิศวกรสาขาอื่นๆ เช่น โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า เครื่องมือวัดซึ่งเป็นสาขาหลักๆที่จะเป็นในการสร้างโรงงานที่เป็นกระบวนการผลิต บริษัทที่จะมีวิศวกรเหล่านี้แบ่งเป็น      2 กลุ่ม คือ พวกที่เป็นบริษัทเจ้าของโรงงาน (เรียกว่า Owner) กับพวกที่เป็นผู้รับเหมา (Contractor)           ซึ่งพวกเจ้าของโรงงานก็เป็นบริษัทเดียวกับในข้อ 1 ครับ วิศวกรของ Owner นี้ก็จะเป็นการควบคุมให้Contractor ทำงานตามที่เรากำหนดไว้ ตรวจสอบ และรับงาน โดยทำงานร่วมกับ Contractor ทั้งใน       ช่วงออกแบบช่วงจัดซื้อเครื่องจักร ช่วงก่อสร้าง และช่วงรับงาน ส่วนบริษัทที่เป็น Contractor ก็จะมีทั้งรายใหญ่รายเล็ก ในกรณีของContractorรายใหญ่ๆ จะเป็นบริษัทต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้ วิธีส่งเจ้าหน้าที่มาทำงานที่เมืองไทยเป็นครั้งคราว ไม่ได้มี engineering officeประจำที่นี่ ดังนั้นใครอยากทำงานกับพวกนี้  คงต้องสมัครไปทำต่างประเทศแต่รับรองว่าได้ใช้ความรู้มาออกแบบเครื่องจักรอย่าง สนุกสนานส่วนที่อยู่ ในเมืองไทยจะเป็นบริษัทขนาดกลางหรือาจเป็นบริษัทลูกของพวกบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศแต่บริษัทเหล่านี้มักไม่สามารถออกแบบกระบวนการได้ มักเป็นเพียงผู้ก่อสร้างส่วนใหญ่

(3) งานวางแผน พัฒนาธุรกิจ (planning, business development)
ในบริษัทใหญ่ๆจะมีหน่วยงานวางแผนเพื่อวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับการขายและ inventoryและอาจมีหน่วยงานพัฒนาธุรกิจเพื่อกำหนดทิศทางในการขยายกิจการหรือนโยบายขององค์กรซึ่งมักต้องใช้ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการตลาดเข้ามาร่วมด้วย

(4) งานขาย งานตลาด งานบริการเทคนิค (sales, marketing, technical service) งานเหล่านี้จะเกี่ยวกับcommercial มากกว่า technical (ยกเว้นบริการเทคนิค) ซึ่งบริษัทที่จะเกี่ยวข้องมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ขายผลิตภัณฑ์เคมี และ กลุ่มที่ขายอุปกรณ์สำหรับโรงงาน

(5) งานวิจัยสารเคมีหรือกระบวนการผลิต หรือ อาจารย์ สอนวิชาวิศวกรรมเคมี


การเข้าเรียนวิศวกรรมเคมี

รายชื่อมหาลัยที่เปิดสอนภาควิชานี้

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
6. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
7. มหาวิทยาลัยบูรพา  
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี  
9. มหาวิทยาลัยมหิดล
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
11. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
12. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
13. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  
14. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  
15. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร   
16. มหาวิทยาลัยรังสิต

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.chemlib.eng.chula.ac.th/Dep.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/วิศวกรรมเคมี
http://www.unigang.com/Article/3635