Animated Cool Shiny Blue Pointer

Week 4 โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

kentucky-languages
นิยาม


ภาษา ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา; อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ"

ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม

 โปรแกรม หมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นระบบขั้นตอนสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ ทํางาน ซึ่งโปรแกรมที่จะใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้นั้นจะต้องเขียนด้วยภาษาที่ คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฎิบัติตามได้ เรียกภาษาทึ่ใช้สั่งคอมพิวเตอร์นี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์โดยผลลัพธ์จะได้ ตามความต้องการ ซึ่งกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ควบคุมการเขียนโปรแกรม คือ ภาษาโปรแกรม (Programming Language)


ภาษาโปรแกรม หมายถึง ภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่เป็นหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา โดยภาษานี้เป็นส่วนหนึ่งของ ภาษาคอมพิวเตอร์


โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการทำงาน ที่เป็นระบบขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมต่างๆ เช่น  java โปรแกรมภาษา C เป็นต้น

ระดับภาษาคอมพิวเตอร์

ระดับภาษาคอมพิวเตอร์ มี 3 ระดับ คือ

        1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถ
เขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) เป็นต้น


        2. ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็ว
เหมือนกับภาษาระดับต่ำ สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาซี เป็นต้น


        3.ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของ
การใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า Interpreter หรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compiler

ตัวอย่างข้อมูล โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ

ภาษาจาวา



ผู้สร้างและพัฒนา
เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์
จุดประสงค์
สร้างเพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++)
รูปแบบ
คล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C)
เหตุการณ์
ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project)
สำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995)
ข้อดี ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย

ข้อเสีย tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า
เกร็ดความรู้
แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน

ภาษาซี



ผู้สร้างและพัฒนา  เดนนิส ริชชี่  ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์
จุดประสงค์
เพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนา ระบบปฏิบัติการ ยูนิกซ์ แทนภาษาแอสเซมบลี
เหตุการณ์
เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973)
รูปแบบ
เครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์
ข้อดี ภาษา C ใช้ได้ในไมโครคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขนาด 8 บิต 16 บิต 32 บิต มินิคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม มีการพัฒนาการใช้งาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน

ข้อเสีย การเขียนโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันอาจทำได้หลายรูปแบบตัวดำเนินการบางตัวอาจทำให้สับสน
เกร็ดความรู้

ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล  และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก

ภาษาซีพลัสพลัส 



ผู้สร้างและพัฒนา 
เบียเนอ สเดราสดร็อบจากเบลล์แล็บส์
จุดประสงค์
เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม
เหตุการณ์
สร้างในปี ค.ศ. 1983
มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003
รูปแบบ
เหมือนภาษา C แต่สิ่งเพิ่มขึ้นนั้นเริ่มจากเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา
จึงกล่าวได้ว่าเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming)

เกร็ดความรู้
   ภาษาซีพลัสพลัสเดิมใช้ชื่อ "C with classes"ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990

ภาษาซีชาร์ป



 ผู้สร้างและพัฒนา 
พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ
จุดประสงค์
ภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก
เหตุการณ์ 
ไมโครซอฟท์ส่งมาตรฐานภาษาซีชาร์ปให้กับ Ecma และได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ECMA ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ในชื่อว่า ECMA-334 C# Language Specification 
ใน ค.ศ. 2003 ภาษาซีชาร์ปได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ISO (ISO/IEC 23270).
ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
รูปแบบ
 เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ  และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็น
ข้อดี รองรับ XML documentation คล้ายๆ javadoc คือเอาคอมเม้นต์ในโค้ดมาแปลงเป็นเอกสาร
ข้อเสีย ไม่มีการแจ้งเตือน เกี่ยวกับช่องว่าง ที่อยู่ใน Code ไม่ว่าคุณจะใส่ช่องว่าง จำนวนมาก อักขระ Carriage return หรือ Tap เป็นอักขระที่รู้จักกันในชื่อว่า White space นั่นหมายความว่า เรามีอิสระในการ ที่จะจัดรูปแบบ Source Code ของเราได้ ถึงแม้ว่าการทำตามกฏที่แน่นอน




Week 3 social network กับ นักเรียนและสังคมไทย



ขอคุณที่มาจากhttp://www.cmswire.com 



นิยาม


 Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับผู้คนอีกหลายๆคน รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว) การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ


ประเภทของ  Social Network



โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
   
      1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น

     2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter

     3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

     4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้

แบ่งโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น
     1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
     2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
    3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)  เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
     4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น

ผลกระทบของSocial Network ต่อสังคมไทยและแนวโน้มอนาคต


สาเหตุที่โซเซียลเน็ตเวิร์คมีพลังมากในการสื่อสารในปัจจุบัน 

     1. เพราะมีคนใช้เยอะ      โซเชียลเน็ตเวิร์คที่คนไทยนิยมใช้กันมากคือเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จากสถิติที่แสดงโดย socialbakers.com ในวันที่ 19 ธันวาคม 2554 พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กมีประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กประมาณ 9% จากสถิติที่แสดงโดย http://www.lab.in.th/พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์มีประมาณ 8 แสนคน แต่ที่ใช้กันทุกวันมีประมาณ 1 แสนคน

    2. กลุ่มคนที่ใช้เป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมสูง มีเวลาและพลังในการกระจายข่าวและความคิดให้แก่คนอื่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 34% และช่วงอายุ 25-34 ปี 29%

    3. มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการสื่อสารแบบอื่น เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มาจากเพื่อน คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารู้จัก โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นการสื่อสารในลักษณะปากต่อปาก

    4. ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน  อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต  เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้ำ ผนังกำแพง ผนังวัด  ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ในวงจำกัดและขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านโทรศัพท์แอปหรือเว็บแอปซึ่งรันอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทำให้ส่ิงที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลังมาก


ประโยชน์ของ Social Network



ข้อดีของ Social Network



  • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
  • เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
  • เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
  • ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
  • ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น
  • คลายเคลียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้


ข้อเสียของ Social Network



  • เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
  • Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
  • เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
  • ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
  • ผู้ใช้ที่เล่น social  network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้   
  • ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ social  network มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรืองสนได้
  • จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์
ตัวอย่างการใช้ Social Network ในกลุ่มของคนในสังคมไทย


1 กลุ่มการเมือง

ในประเทศไทย ผลกระทบของการใช้โซเชียลมีเดียในกลุ่มการเมืองยังไม่เห็นชัดเท่ากับในต่างประเทศ อาจจะเป็นเพราะส่วนใหญ่คนไทยที่ใช้โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่กระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑล  จากข้อมูลที่เว็บไซต์ของเฟซบุ๊กในวันที่ 18 ธันวาคม 2554 พบว่าผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กในไทยอยู่ในกรุงเทพหรือเมืองที่อยู่ในช่วง 50 ไมล์ห่างจากกรุงเทพจำนวน  9,767,660 คน  คิดเป็น 73.57 เปอร์เซนต์ของคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 13,276,200 คน


แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอาหรับซึ่งเริ่มจากประเทศตูนิเซีย ซึ่งประชาชนสามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อช่วยในการรวมตัวกันโค่นล้มผู้นำซึ่งอยู่ในอำนาจนาน 23 ปี   จากนั้นประชาชนในประเทศอาหรับประเทศอื่น เช่น อิยิปต์ แอลจีเรีย เยเมน บาห์เรน และจอนดอน ก็ลุกขึ้นมาประท้วงความไม่เป็นธรรมของผู้นำในการปกครองบริหารประเทศหลายปี ในประเทศเหล่านี้ ประชาชนเหล่านี้อาจมีความรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลมานาน แต่ไม่มีช่องทางในการแสดงออกความรู้สึกไม่พอใจหรือในการรวมตัวกัน เห็นอกเห็นใจกัน และช่วยกันแสดงพลัง  โซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้การประท้วงต่อต้านผู้นำที่เป็นเผด็จการของประเทศเหล่านี้ได้สำเร็จ


2. กลุ่มสังคมอาสาสมัคร

กลุ่มสังคมในไทยโดยเฉพาะกลุ่มพลังสังคมในเชิงบวกได้พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการปลุกกลุ่มคนไทยให้มีจิตอาสามากขึ้นหรือในการรวมตัวกันในการทำงานเพื่อสังคมของคนที่ีมีจิตอาสา อาทิเช่น

https://www.facebook.com/SiamArsa  กลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ 164,155 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)และมีคนติดตาม

https://www.facebook.com/PositiveNetwork  กลุ่มเครือข่ายพลังบวก  ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ  126,580 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)และมีคนติดตาม

หรือล่าสุดจากเหตุการณ์การแผ่นดินไหวที่เนปาลที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนอย่างมากในการทำให้พลังประชาชนมีส่วนในการเข้าไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนประเทศอื่น ที่ให้ทั้งความรู้ สิ่งของ และความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย


3. การค้าและเศรษฐกิจ

บุคคลที่เป็นตัวอย่างในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการค้าและเศรษฐกิจได้ดีคือคุณตัน ภาสกรนท ซึ่งเป็นคนที่มีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนคลิก like มากที่สุดในประเทศไทย มากยิ่งกว่าเฟซบุ๊กเพจของดารา ศิลปิน คุณตัน ภาสกรนทีมีเฟซบุ๊กเพจที่มีคนคลิก like 11,402,200 คน (ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)ซึ่งคุณตันใช้เพจประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณตัน

ในบรรดาธุรกิจต่างๆ พบว่าธุรกิจอาหารมีการสร้างเฟซบุ๊กเพจและมีคนเข้าไปคลิก like และติดตามข่าว อาทิเช่น McDonald Thai ซึ่งมีคนคลิก like  57,402,535 !!! คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)

ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทางโซเชียลมีเดีย คือ ธุรกิจทางด้านไอทีและเทเลคอม  เช่น BlackBerry Thailand มีคนคลิก like ประมาณ 400,000 คน(ข้อมูล 3 ปีที่แล้ว) DTAC มีคนคลิก like ประมาณ 300,000 คน (ข้อมูล 3 ปีที่แล้ว)และ AIS มีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน (ข้อมูล 3 ปีที่แล้ว)

4. กลุ่มธรรมะ
เฟซบุ๊กเพจของท่าน พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มีคนเข้ามาคลิกชอบ 5,057,274 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)
ทวิตเตอร์ของท่าน พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี  มีคนตาม 1,029,000 คน  นอกจากนี้ มี พระท่านอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ธรรมะ อาทิเช่น หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งมีคนคลิ like 216454 คน (ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)

5. กลุ่มสุขภาพ

มีกลุ่มนมแม่ ซึ่งมีคนคลิก like 89,692 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58) กลุ่ม rainbow room เพื่อสนับสนุนและให้ความรู้พ่อแม่ที่มีลูกที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ลูกที่เป็นออทิสติก https://www.facebook.com/specialrainbow ซึ่งมีคนคลิก like 6574 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)กลุ่มเฟซบุ๊กเพจ สสส ซึ่งมีคนคลิกอ358,332 คน (ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)


6 กลุ่มการศึกษานอกระบบ


มีทวิตเตอร์ของคุณ andrew biggs ซึ่งมีคนกด like 109,572 คน







ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.gotoknow.org/posts/471684 


Week 1 เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

นิยาม

เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

สารสนเทศ (information) คือผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารนั้น

เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย


บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
           การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้าน ได้แก่




1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน 
ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น

  •  งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ                                                      1. ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ                                                                                                  2. ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น
  • งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์
  • งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์
  • งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น





2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน


ATMs in the HUB



3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้โดยสะดวก





4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล






5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข เช่น

  • ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยาการรักษาพยาบาล การคิดเงิน รวมทั้งการส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมที่อาจเรียกว่า โทรเวชได้
  •  ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้
  •  ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค เช่น ระบบ Mycinของ    มหาวิทยาลัยสแดนฟอร์ด โดยเริ่มมาใช้ในการวินิจฉัยโรคพืชและโรคสัตว์ ที่ใช้หลักการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้โดยละเอียดแล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนมนุษย์

6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา เช่น

  • เรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
  • การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
  • เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
  •  การใช้งานในห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานโดยมีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการให้บริการห้องสมุด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาก
  • การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การ ควบคุม การทดลอง
  • การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตามและดูแล นักเรียนได้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น







ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
https://sites.google.com/site/pnru261/tecnology-for-life-1

Week 2 เรื่องที่นักเรียนสนใจ

วิธีประหยัดแบตเตอรี่โทรศัพท์ระบบ Android  

1. ปิด Bluetooth, GPS และ NFC


Screenshot_2013-06-24-14-59-53

  • การเปิดบลูทูธทิ้งไว้นับว่าเปลืองแบตเตอรี่มาก แนะนำให้ปิดไว้ และเวลาใช้ก็พยายามให้มือถืออยู่ในวงของ Bluetooth ที่เราต้องการจะรับส่งข้อมูล เพราะถ้ายิ่งเอาออกห่างเท่าไหร่ มือถือเราก็จะประมวลผลในการค้นหาอุปกรณ์ Bluetooth ของอีกเครื่องมากเท่านั้น
  •  GPS นั้นกินแบตเตอรี่มากกว่า Bluetooth  ถึงแม้ว่า GPS จะช่วยให้อุปกรณ์ Android ทำงานได้เป็นอย่างดีในแอพพลิเคชั่นต่างๆ แต่พอถึงเวลาที่ต้องการที่จะ ประหยัดแบตเตอรี่ ก็ควรที่จะปิด GPS โดยเฉพาะตอนที่เคลื่อนที่ไปไหนต่อไหน โดยที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ Android
  • ส่วน NFC คนไทยไม่ค่อยได้ใช้กันอยู่แล้ว อาจจะมีใช้บ้างเล็กน้อย เช่น แลกเปลี่ยน Contact หรือส่งไฟล์ให้กัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ควรปิดไว้ ถ้าต้องการจะเปิดก็ทำ Shortcut ไว้หน้า Home Screen ก็ได้ครับ จะช่วยประหยัดเวลาในการเปิด NFC






2. ปิดการใช้งานในส่วน "ระบุตำแหน่งด้วย Wi-Fi" (Wi-Fi Network Location Positioning)


Screenshot_2013-06-24-14-56-57

ถึงแม้ว่า Android จะใช้ GPS ในการระบุตำแหน่งของคุณ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถระบุตำแหน่งได้นั่นคือ "การระบุตำแหน่งด้วย Wi-Fi" ซึ่งจะใช้ Wi-Fi ในการค้นหาตำแหน่ง และกินแบตเตอรี่น้อยกว่า GPS อย่างไรก็ตามปิดไว้ดีกว่าเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ โดยไปที่ Setting > Location และ       ติ๊กเครื่องหมายถูกออกในช่อง "Wi-Fi Network Location Positioning" หรือถ้าเป็น Android เวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็จะเป็น "Wi-Fi & mobile network location" 











3. พยายามใช้ Wi-Fi เมื่อมีสัญญาณ และปิด Wi-Fi เมื่อทีการเคลื่อนที่


Screenshot_2013-06-24-14-57-17

การค้นหาสัญญาณ Wi-Fi ของ Android นั้นกินแบตเตอรี่เยอะพอสมควร เพราะฉะนั้นเวลาต่อ Wi-Fi ต้องไม่เคลื่อนที่บ่อยๆ และอย่าลืมปิด Wi-Fi เมื่อมีการย้ายตำแหน่ง หรือระหว่างที่เคลื่อนที่ แต่ถ้าเป็นการใช้งานอยู่กับที่แนะนำให้เปิด Wi-Fi เพราะกินแบตเตอรี่น้อยกว่า 3G
















4. ลดความสว่างของหน้าจอ


Screenshot_2013-06-24-14-57-29

ยิ่งหน้าจอใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งกินแบตเตอรี่มากเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่ต้องการที่จะเซฟแบตเตอรี่ให้ใช้ได้ทั้งวัน ก็ควรที่จะปรับความสว่างของหน้าจอ ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ หรือถ้าเป็น มือถือ Android รุ่นใหม่ๆ ก็จะมีเซนเซอร์ที่สามารถปรับความสว่างของหน้าจอได้โดยอัตโนมัติเลย







5. ใช้ Wallpaper โทนสีดำ


สำหรับข้อนี้เหมาะกับ มือถือ Android ที่ใช้หน้าจอแบบ AMOLED เช่น Samsung ตระกูล Galaxy ทั้งหลาย เป็นต้น โดยการใช้ Wallpaper โทนสีดำจะช่วยให้ลดการแสดงผลของแต่ละ Pixels 
***หมายเหตุ ข้อนี้อาจจะช่วย ประหยัดแบตเตอรี่ ไม่ได้มากเท่าที่ควร




6. จัดการ Clear แอพพลิเคชั่น ที่ไม่ได้ใช้


Screenshot_2013-06-24-14-57-55

บางคนอาจจะเปิดแอพพลิเคชั่นเยอะเกิน จนลืมปิด ทำให้ระบบทำงานหนักจนเกินกว่าที่หน่วยประมวลผลจะรับไหว ส่งผลให้เครื่องร้อน และกินแบตเตอรี่ .. แนะนำให้ปิดแอพพลิเคชั่นที่เปิดทิ้งไว้ โดยกดปุ่ม Home ค้าง แล้วปัดแอพที่ไม่ได้ใช้ออกไป หรือว่าจะไปที่ Settings > Apps > Running > เลือกแอพ และกด Stop เพื่อหยุดการทำงานของแอพนั้นๆ















7. ตรวจสอบการใช้งานแบตเตอรี่ของแต่ละแอพ


Screenshot_2013-06-24-14-58-37

ระบบปฏิบัติการ Android ให้คุณได้ตรวจสอบปริมาณการใช้แบตเตอรี่ของแต่แอพพลิเคชั่นได้ โดยไปที่ Settings > Baterry โดยในหน้านี้คุณสามารถ Tap แต่ละแอพ เพื่อที่จะดูข้อมูลการใช้แบตเตอรี่ และถ้าแอพไหนที่ไม่ได้ใช้ หรือใช้เสร็จแล้ว ก็ควรที่จะปิดการใช้งานด้วย
















8.  Root Android 



Screenshot_2013-06-24-14-59-09

การ Root เครื่องบน Android ก็เหมือนกับการ Jailbreak/ Unlock บน iOS นั่นแหละครับ ประโยชน์ของการ Root เครื่องสามารถปรับแต่งเครื่องให้ประหยัดแบตเตอรี่ได้ ดังนี้
  • ถอนการติดตั้งแอพที่ติดมาจากโรงงานได้
  • กำหนดความเร็วของหน่วยประมวลผลให้ช้าลง (วิธีนี้ช่วยให้ประหยัดแบตเตอรี่มาก )
  • ลง custom ROM ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องดีขึ้น
  • ใช้แอพ ROM Toolbox ให้คุณปรับแต่งการใช้แบตเตอรี่ได้หลากหลายวิธี
***หมายเหตุ การ Root เครื่องต้องมีความรู้เรื่องระบบ Android นิดนึง เพราะมีความเสี่ยงอาจจะทำให้เครื่องของคุณได้รับความเสียหายได้





อ้างอิง http://www.oneclickroot.com

           http://tips.thaiware.com/158.html