Animated Cool Shiny Blue Pointer

Week 8 รีวิวโปรแกรม vegas pro 11

Sony Vegas Pro 11.0.370 (x86/x64)
ขอขอบคุณรูปภาพจาก http://www.gfxtr.com


vegas pro 11 คืออะไร

Vegas หรือ ชื่อเต็ม คือ Sony Vegas คือโปรแกรมตัดต่อวิดีโอบนระบบปฏิบัติการWindows มีชื่อเสียง ตัวหนึ่ง เนื่องจากมีราคาแพง ประมาณ400-600 USD นับตั้งแต่รุ่น 2มา (ไม่ใช่ vegas movie studio ที่ตัดความสามารถออก
                เนื่องจาก การใช้งานที่ง่ายแต่มีอะไรที่ซับซ้อนอยู่ลึกๆ มีลูกเล่นมากพอที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ซึ่งแตกต่างจาก โปรแกรมราคาถูกๆ ทั่วไป เช่น Ulead ...Nero... เป็นต้นที่ทำได้น้อยกว่า และไม่ยืดหยุ่นในการใช้งานเท่า(ความสามารถตามราคา)โดยสามารถคลิ้กลาก แล้ววาง (Drag and Drop)และ คลิ้กขวา โดยใช้ mouse ก็ตัดต่อได้แล้ว ด้วยการทำงานแบบชั้น(layer)คล้ายๆกับโปรแกรม Photoshop และมี Effect และ Transition ที่มากพอเช่นเดียวกับโปรแกรมอื่นๆที่สำเร็จรูปมาให้ใช้ได้ทันที จึงทำความเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยัง สามารถในการตัดต่อภาพและเสียงไปพร้อมกันได้เลย ซึ่งเป็นความสามารถอันโดดเด่นสำหรับVegas ซึ่งหาตัวจับได้ยาก ที่จะมีโปรแกรมที่ทำได้แบบนี้

เดิมที โปรแกรมนี้ เป็นของ SonicFoundry ซึ่งแต่เดิม โปรแกรมของบริษัทนี้ เป็นโปรแกรมตัดแต่งเสียงดนตรี ต่อมาจึงพัฒนามีโปรแกรมตัดต่อ วิดีโอ ซึ่งเรื่องเสียงเป็นจุดแข็งของโปรแกรมนี้เลยก็ว่าได้
vegas pro 11ดังนั้นโปรแกรมตัดต่อภาพที่มีประสิทธิภาพมากมีเงื่อนไงการติดตั้งดังนี้

1. Microsoft net framework 2.0

2. Directx เวอร์ชั่น 9.0c ขึ้นไป

3. Ram 512 mb เป็นอย่างน้อย

4.พื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ 500 mb

5. Cpu p4 2.80 G หรือ สูงกว่า

6.ใช่window รุ่น 7 หรือมากกว่า

การใช้งานเบื้องต้น

1. space bar    =     คือ ใช้สำหรับ Play / Stop หรือการเล่นการหยุด งานใน timeline

2.     S             =     คือ ใช้สำหรับตัด clip ให้เป็นท่อนๆ

3.    Ctrl + c    =     คือ การ copy file วีดีโอ

4.   Ctrl + v     =     คือ การวาง file วีดีโอในตำแหน่งที่เราต้องการ

5.    Ctrl + x     =    คือ การคัตวีดีโอเพื่อจะนำไปวางในส่วนอื่น

6.    Ctrl + z    =     คือ ย้อนกลับการทำครั้งล่าสุด 1 ครั้ง

7.    V              =    คือ การมาร์คจุดเพิ่ม / ลด เสียงตามที่เราต้องการ

8.    V  และตามด้วย Shift  =  คือ การเพิ่มลดเสียงอย่างง่าย โดยการกด Shift ค้าง จะให้เป็นสัญลักษ์รูป
                                                    ดินสอ ขึ้นสามารถลากเพิ่มลดเสียงตามที่เราต้องการ

9.  U                  =   คือ การแยกภาพและเสียงออกจากกัน

10 ctrl + g         =   คือ การรวม file วีดีโอแต่ละชิ้นมารวมกันโดยการกด ctrl ค้างไว้เลือก file ที่ต้องการ                                   รวมจากนั้นกด g ก็จะเป็นวีดีโอก้อนเดียวกัน

11.  Ctrl + s       =   คือ การเซฟงานครั้งล่าสุดที่เราทำไว้




ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/m68n04sony/home
                                    https://www.youtube.com/watch?v=AqmfptUrgfw ของผู้ใช้ id youtube ชื่อ Puss'x



Week 9 เรื่องที่นักเรียนสนใจ การเป็นวิศวกรเคมี

ขอบคุญรุปภาพจาก http://eduspiral.com





ความหมายของอาชีพวิศวกรเคมี


               วิศวกรเคมี (chemical engineering) เป็นอาชีพที่ผสมการใช้ทักษะด้านวิทยาศาสตร์คือความรู้ด้านฟิสิกส์ และเคมี, คณิตศาสตร์, ของไหล, การแลกเปลี่ยนความร้อน เศรษฐศาสตร์ และสิ่งอื่นๆมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบในโรงงาน หรือสถานที่ต่างๆ หรือเคมีภัณฑ์ ให้อยู่ในรูปที่มีประโยชน์อย่างสูงสุด และใช้ต้นทุนให้ได้ต่ำที่สุด
              ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าวิศวกรเคมีเป็นอาชีพที่ทั้งการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมีในระดับมหภาพ มักจะถูกเรียกว่าวิศวกรกระบวนการ (Process Engineer)


งานตรงกับอาชีพวิศวกรเคมี

เราสามารถแบ่งโรงงานอุตสาหกรรมได้คร่าวๆ 2 แบบ คือ แบบ line ผลิต (assembly line หรือ manufacturingline) เช่นพวกโรงงานประกอบรถยนต์ อีกแบบหนึ่งคือแบบกระบวนการผลิต                           (process industry) เช่นโรงงานปูนซิเมนต์ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม โรงงานสบู่ ผงซักฟอก โรงงานเคมี         โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้นซึ่งวิศวกรรมเคมีจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแบบหลังมากกว่า และพื้นฐานความคิดที่มองระบบเป็นกระบวนการ(process) ทำให้สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตเหล่านี้ได้ง่าย
*(งานวิศวกรเคมีส่วนใหญ่มีเงินเดือนเกิน 3 หมื่นขึ้นไปเป็นอย่างน้อยที่สุด) ดังนั้นงานที่วิศวกรเคมีเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นกระบวนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ สรุปเป็นลักษณะของงานจะได้ดังนี้


(1) งานในกระบวนการผลิต เช่น วิศวกรผลิต (Production engineerหรือprocessengineer)
ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม ดูแล และปรับปรุง แก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต หรืออาจเรียกว่าเป็นงานด้าน operation เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงงานสารเคมีต่างๆซึ่งโรงงานเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมหนักจึงมักตั้งอยู่ในต่างจังหวัดซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้บัณฑิตจำนวนหนึ่งไม่ต้องการทำงานลักษณะนี้ตัวอย่างบริษัทที่มีวิศวกรที่ทำหน้าที่นี้ เ
ช่น เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย  (กลุ่มบริษัทปิโตรเคมีของเครือซิเมนต์ไทย) บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) บริษัท ไทยออลย์ บริษัทเอสโซ่ บริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ (อันนี้โรงงานอยู่ใน กทม.) เป็นต้น

(2) งานโครงการ ได้แก่ วิศวกรโครงการ (Project engineer) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงงาน                 ในลักษณะที่เป็นกระบวนการผลิตรวมไปถึงงานเตรียมความพร้อมของโรงงานก่อนเริ่มการผลิตจริง (Commissioning)ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้าน operation มาด้วย งานโครงการนี้อาจรวมไปถึงการบริหารโครงการด้วยและจะต้องประสานกับวิศวกรสาขาอื่นๆ เช่น โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า เครื่องมือวัดซึ่งเป็นสาขาหลักๆที่จะเป็นในการสร้างโรงงานที่เป็นกระบวนการผลิต บริษัทที่จะมีวิศวกรเหล่านี้แบ่งเป็น      2 กลุ่ม คือ พวกที่เป็นบริษัทเจ้าของโรงงาน (เรียกว่า Owner) กับพวกที่เป็นผู้รับเหมา (Contractor)           ซึ่งพวกเจ้าของโรงงานก็เป็นบริษัทเดียวกับในข้อ 1 ครับ วิศวกรของ Owner นี้ก็จะเป็นการควบคุมให้Contractor ทำงานตามที่เรากำหนดไว้ ตรวจสอบ และรับงาน โดยทำงานร่วมกับ Contractor ทั้งใน       ช่วงออกแบบช่วงจัดซื้อเครื่องจักร ช่วงก่อสร้าง และช่วงรับงาน ส่วนบริษัทที่เป็น Contractor ก็จะมีทั้งรายใหญ่รายเล็ก ในกรณีของContractorรายใหญ่ๆ จะเป็นบริษัทต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้ วิธีส่งเจ้าหน้าที่มาทำงานที่เมืองไทยเป็นครั้งคราว ไม่ได้มี engineering officeประจำที่นี่ ดังนั้นใครอยากทำงานกับพวกนี้  คงต้องสมัครไปทำต่างประเทศแต่รับรองว่าได้ใช้ความรู้มาออกแบบเครื่องจักรอย่าง สนุกสนานส่วนที่อยู่ ในเมืองไทยจะเป็นบริษัทขนาดกลางหรือาจเป็นบริษัทลูกของพวกบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศแต่บริษัทเหล่านี้มักไม่สามารถออกแบบกระบวนการได้ มักเป็นเพียงผู้ก่อสร้างส่วนใหญ่

(3) งานวางแผน พัฒนาธุรกิจ (planning, business development)
ในบริษัทใหญ่ๆจะมีหน่วยงานวางแผนเพื่อวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับการขายและ inventoryและอาจมีหน่วยงานพัฒนาธุรกิจเพื่อกำหนดทิศทางในการขยายกิจการหรือนโยบายขององค์กรซึ่งมักต้องใช้ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการตลาดเข้ามาร่วมด้วย

(4) งานขาย งานตลาด งานบริการเทคนิค (sales, marketing, technical service) งานเหล่านี้จะเกี่ยวกับcommercial มากกว่า technical (ยกเว้นบริการเทคนิค) ซึ่งบริษัทที่จะเกี่ยวข้องมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ขายผลิตภัณฑ์เคมี และ กลุ่มที่ขายอุปกรณ์สำหรับโรงงาน

(5) งานวิจัยสารเคมีหรือกระบวนการผลิต หรือ อาจารย์ สอนวิชาวิศวกรรมเคมี


การเข้าเรียนวิศวกรรมเคมี

รายชื่อมหาลัยที่เปิดสอนภาควิชานี้

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
6. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
7. มหาวิทยาลัยบูรพา  
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี  
9. มหาวิทยาลัยมหิดล
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
11. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
12. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
13. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  
14. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  
15. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร   
16. มหาวิทยาลัยรังสิต

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.chemlib.eng.chula.ac.th/Dep.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/วิศวกรรมเคมี
http://www.unigang.com/Article/3635







Week 7 : คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

นิยาม



คอมพิวเตอร์ (ในภาษาไทยเรียกว่า คณิตกรณ์ แต่ไม่นิยมใช้เรียก) คำว่า computer มาจากคำว่า Computare ในภาษาละติน ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"  การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นใช้หลักการแปรข้อมูลเป็นเลขฐาน 2 คือมีเลข 1 กับ 0  มาใช้ในระบบ แล้วแปรเป็นอย่างอื่นเมื่อต้องการใช้โดยโปรแกรมฃ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้



ประเภทองคอมพิวเตอร์(เรียงตามขนาด)


ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)


ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน


เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)


เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก


มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)


มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น


ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)


ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกะทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูก ๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่น ๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า


โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)


โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอ ๆ กับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ


เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)


เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา


อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook)


อัลตร้าบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และมีขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ และน้ำหนักเบากว่าโน้ตบุ๊ค และเน้นความสวยงาม ทันสมัย แปลกใหม่


แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)


แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์



เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามการเชื่อมโยงได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้





2.1  เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น เช่น Bluetooth ตัวอย่าง เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง PDA กับ Desktop โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น
●          PDA ย่อมาจาก Personal Digital Assistant หมายถึง คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ มีโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Spread Sheet ต่างๆ ช่วยจดบันทึก และการนัดหมายต่างๆ   (Palm) 

เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)




2.2  เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในอง๕การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย




2.3 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยง
แลนที่อยู่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาหาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสงสายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ
4  เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น




อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีดังนี้



1)      เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้ ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEht12pHrFcqeVpSfYB4kp2Xujh2rHYzT4fvKuUi3MZ0kum8E7Skv0VOzzylsZUCiwKgxLCTHgUqPrBVUPJE9M9vjX4gRzUKbVMn22p_Z86BzaTiz6MM6uz-ZABlW6sMPMgd8ymFi4m_U34U/s200/Repeater.jpg

2)      ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่อยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjFPpBeCZZeWsQKhlwfCno84ChG5YKIl9PvZfgEHXFoeDPjQ1074rUAyyXSBPd4mm4Gf0Sq_3HJWxDul1xxYCJNlmwN8Ah6aGCZhDLbr3J0KAwLWKFnGTZcDDn6OM3NTBWk2IEKoH-upxzD/s200/hub+16.jpg
3)      บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น แต่หากข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่เครือข่ายอื่น ก็จะส่งข้อมูลไปในเครือข่ายที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgziwcOGr51QPiJVxla0gOacK6iee7KnBC94i2sPQaHKKY0p9IUT8EeXqUd-cvz0udwQ8zk40VPLVaQqJYoP603nfX2LspSFFIVido_dJRqX4L9DdQqkmpyfBLXYIfm39bAQz6Q4CE8g23n/s200/%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%258C.jpg
4)      อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า ตรงที่สามารถหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล (data packer) ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj7ciYLgfR9dPBiwi8Imv1pClgsxIvWXQXdl4GOBraJLTj2Yn0VZpCm6wMWhdItyi3tGJO0zscJPGTnkFiJ1i1L6g5H-k6NdAkrpbsqTcZ0R5iYZon0dtwH3FiWa0kkqIhNzWxx7K1RNOcP/s200/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C.jpg
5)      สวิตช์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตช์จะทำหน้าที่รับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนหรือความคับคั่งของข้อมูล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiD_YOaLVT80q6VJhLABHmwX8mQdglslsReWD0_SHrVG1SLsOCF0kPtezFNJ7q9TG02q8-nUpHU3ZJBmHklSFZCfWXFZxpyg5CjIS8mvwOocZ_jbECuj_XgplK75pTu2WcL4Lj4RKxWwcNM/s200/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595.jpg
6)      เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถแปลงรูปแบบแพ็กเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้ เพื่อให้เหมาะสามกับการใช้งานในเครือข่าย ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่ในปัจจุบันนี้ได้รวมการทำงานของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) แล้ว ทำให้อุปกรณ์จัดเส้นทางสามารถทำงานเป็นเกตเวย์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเกตเวย์อีก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi8-vuAfcmeaExaTnDn-V6LHE9oTGj4hQ4bslnerJxlrFR5PIDhZWmsUTpCXYm9O5uBM3jbo0RexHBAziFrQzbkQLhKDsqkvLIcQ01Jfr3J7avIqAfrekhCn1lrs9YA4QooLfUsQizfpc5K/s200/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C.jpg





เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์



เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้

1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้

1.สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้น ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับส่งข้อมูลดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดังนี้ 1.       แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)

2.       แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair) 

2.สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)

สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูป

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgy8WuOaEA9MW0WKn952GcE0ksn1a6IKupzSCsrhYlpweN2Gd0sTNl-vTTEZ-S0UKXa3rA1K1Ln4dwzh-2kIXRJFGSZmYuULKRsvcxDAfz6btUyymEQjnT4LgGDzFFd0FiIRZKYcNKcXvo0/s200/utp.gif

รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)           ข้อดีของสาย UTP 
- ราคาถูก
- ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
                               - มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของสาย UTP
                             - ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกล มาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร) 

3.สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมาก ขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhnN-6WtN88EBHTdpTDTUKybTNDqPOVhkmXDUASYpDNnZb6kf8XeWM492PiBX1zRKHFTIMnTUDsXLtQz5gbJLAvEjv32KtJIl-XGLjs_21UwQb5NtC9mwV1B5ADiPfNCHiAn91DXiB8T8LD/s1600/stp1.jpg
รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)                ข้อดีของสาย STP
                           - ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
                            - ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
ข้อเสียของสาย STP
                          - มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
                           - ราคาแพงกว่าสาย UTP

2)      สายโคแอซ์ก (coaxial cable) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอะนาล็อก 

 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjiK6YKmDwQkKP0YG1ZVOlhwP5AC4HCV4HivsiYpsvmDCIGSCDKAn3ly_zgO2S_NtWlaeVrRRhKkMUkdgsKZ6et6_rkrsX5wMP3lX-umj2yq72zrAAaBREW5EXsSN0SJbHFBnkOo776pNwk/s200/co.jpg

 3)      สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable) หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสนิกขนาดเล็กภายในกลวง หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟิก เสียง หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสีย เนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยแก้ว นำแสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiD3ybrjdU28Rv5dPpxRDaMWYYckHI8cCtlr-bgicgowis1-OC3g6v1BI6wcclNf4knxPDdSi3QUpck45Qf8M9vAenHh0pF9Vwk9Q7hH6siZPSRiY1IjYlmx9nGZ_MamO0Xh5b29e2jnfxZ/s200/index.jpg


เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย 

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณซึ่งสามารถแบ่งตามช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้ 1) อินฟราเรด (infrared) เป็นลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1-2 เมตร ความเร็วประมาณ 4-16 เมกะบิตต่อวินาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgY9HbDfhUS6M-MbfiwhRAluMyjdhkithj53pyyzfadwn2ORb4clf8DyUGo5JqkEXOWGiKr1c2KqX-JXOvcMiDUNnqWLYBVlRgcAKW4x3dRSWRxzjz2k0BD3TdN3219dOOsLMps7lBDvmdC/s200/infrared.jpg

2)      คลื่นวิทยุ (radio frequency) ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) เอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM) การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย (Wi-Fi) และบลูทูท

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiWIibnHl2mh0ejGexlRTGORbHVWxX81sBBITLuq6nX95aJ-I-4lZbDL7f8boQyAWfwHSD7mARkbcKMHldt3o1D_JEUy9G6gZZKyUyLhZFkFggD3PF6jWYFCP7vgmW7zlu7phK2u3IAdvq3/s200/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B8.jpg
 3)      ไมโครเวฟ (microwave) จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานนีที่ทำหน้าทีส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูง ยอดเขา เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh0rZNlm_QERIzdyJFu3JDbfcmYOwk6swBe-EfBQeGP24jST3_JX-hrzqE4In1qAvcWa5K86nFL9aDsSo-nnc30HipadnhtSvYNQOI4VBMi-bWpMnIHyHVrLIFtuNsP-qfLRuwpIzX9Tl1E/s200/microwave.gif
  4)      ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลกซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาที จะทำให้สามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลาเพียง 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูล หากมีข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4. ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น เช่น การใช้อีเมล์ส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
5. สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่าย ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน ไม่ต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน กระจัดกระจายกันไปในคอมพิวเตอร์ทุกแผนก ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่ข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากส่วนกลางได้ทันที
6. การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์นั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย แต่สามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบ เช่น สามารถให้เครื่องพิมพ์ตัวเดียว ซึ่งต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายรับคำสั่งในการพิมพ์งานจากทุกๆ เครื่องในเครือข่ายได้ทันที เป็นต้น
7. การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มงานเดียวกันได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือในระบบงานเอกสารชนิดหนึ่งอาจจะต้องผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตัวเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูลของเอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายทำขั้นตอนต่อไป เป็นต้น


ขอขอบคูณข้อมูลและภาพจาก
https://docs.google.com/document/d/1V6uUuv-Ks0yb7WfIV_T2TyU-lVz-ndEe--YiaslRVic/edit# โดยครูโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
www.computer-networking
https://th.wikipedia.org/


Week 6 : วิเคราะห์ข้อสอบ O-net คอมพิวเตอร์ 5 ข้อ



ข้อสอบ O-Net ปี 52 รายวิชา วิทยาศาสตร์



ข้อ 1) เหตุใดผู้ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จึงมักปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (O-net 52)
       1. ไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
       2.  การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง 
       3.  แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อร่างกาย จึงถูกกำจัดทิ้งอย่างรวดเร็ว 
       4. ร่างกายควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ได้

ตอบข้อ 2 การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง 

เหตุผล

 ฮอร์โมนวาโซเปรสซิน(Vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก (Antidiuretic) หรือ ADH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก neuroscretory cell ของไฮโพทาลามัส แล้วเก็บไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนท้าย โดย ADH ทำหน้าที่ ดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตเพื่อลดแรงดันออสโมติกในกระแสเลือด (เมื่อร่างกายต้องการน้ำ)  โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกและ สารเคมี บางชนิด มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน ADH เช่น ความเย็น  สารคาเฟอีนในชา  กาแฟ และ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง


ข้อ 2) เมื่อหยดน้ำเกลือลงบนสไลด์ที่มีใบสาหร่ายหางกระรอกอยู่ จะสังเกตเห็นการ เปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดสารใดมากที่สุดและเกิดเร็วที่สุด (O-net 52)
       1. น้ำกลั่น
       2. น้ำเชื่อม
       3. น้ำนมสด 
       4. แอลกอฮอล์

 ตอบข้อ 4 แอลกอฮอล์

เหตุผล

     น้ำเกลือเป็นสารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution) ต่อเซลล์ใบสาหร่ายหางกระรอก  จะทำให้เซลล์สูญเสียน้ำ เช่นเดียวกับ เมื่อนำเซลล์แช่ในน้ำเชื่อม กับ แอลกอฮอลล์ แต่ในโจทย์ถามว่า การเปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดสารใดมากที่สุดและเกิดเร็วที่สุด ซึ่งสารที่ทำให้เซลล์สูญเสียน้ำเร็วที่สุดจะเป็นแอกอฮอล์ จึงมีการใช้แอลกอฮอล์มาเป็นน้ำยาตรึงสภาพของเซลล์


ข้อ 3) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย (O-net 52)
       1. เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง 
       2. ผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
       3. เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างโกลบิน
       4. ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้

ตอบ ข้อ 4. ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้

เหตุผล

         โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางจากพันธุกรรม โดยถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนออโตโซม เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มโปรตีน 2 ชนิด คือ อัลฟ่าโกลบินซึ่งถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 16 และเบต้าโกลบิล ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน โดยผู้ป่วยไม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ หัวใจ เลือดหมู เลือดไก่ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากการมีธาตุเหล็กมากเกินความต้องการของร่างกาย เพราะผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีธาตุเหล็กสูงในร่างกายอยู่แล้ว
ดังนั้นข้อที่ผิด คือ ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้  เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียโดยถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนออโตโซม จะแสดงออกได้เมื่อได้รับยีนด้อยจากทั้งพ่อและแม่


ข้อ 4) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิวเทชัน (O-net 52)

      1. มีอัตราการเกิดได้สูงตามธรรมชาติ
      2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ 
      3. เกิดขึ้นได้เฉพาะในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว 
      4. มิวเทชันในเซลล์ทุกชนิดสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลานได้

ตอบข้อ 2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ

เหตุผล

          มิวเทชัน แบ่งได้ 2 ระดับคือระดับ DNA และระดับโครโมโซม โดยในธรรมชาติจะเกิดในอัตราที่ต่ำ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์ร่างกายโดยทั่วไปจะไม่ถ่ายถอดความผิดปกติไปยังลูกหลาน


ข้อ 5) ข้อใดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (O-net 52)
       1. แตงโมไม่มีเมล็ด 
       2. กล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 
       3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน 
       4. กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ได้จากการฉายรังสีแกมมา

ตอบข้อ 3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

เหตุผล
           สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่าเทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant) ซึ่งในข้อนี้คือ แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โดยการตัดและต่อ DNA ให้มียีนที่สร้างอินซูลิน แล้วใส่เข้าไปในเซลล์แบคทีเรีย เพื่อให้เกิดการแสดงออกและสร้างพอลิเพปไทด์ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำเซลล์ไปเพื่อเพิ่มจำนวนยีนที่สร้างสายพอลิเพปไทด์ดังกล่าวและ ผลิตอินซูลินที่ทำงานได้


ขอคอบคุณข้อมูลจาก 
http://www.nana-bio.com


Week 5 เรื่องที่นักเรียนสนใจ เกมส์ DOTA 2






เกมส์ DOTA 2  คืออะไร 

เกมส์ dota2 หรือ Defense of the Ancients 2เป็นเกมส์แนว RTS ซึ่งย่อมาจาก Real Time Strategy หมายถึง เกมประเภทวางแผนการรบ รวมกัน กับ แนว RPG ซึ่งย่อมาจาก Role-playing game หมายถึง เกมส์ประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นสมมุติรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกมแต่คนส่วยใหญ่เรียกเกมส์นี้ว่า                      Multiplayer Online Battle Arena หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า "MOBA"  ซึ่งเกมส์แนวนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีจำนวนที่ีน่าจะเกิน 5 ล้านคนที่เล่นหรือเคยเล่นเกมส์นี้ซึ่งเกมส์ moba นั้น ดัดแปลงมาจากเกมส์ warcraft 3 



จุดเริ่มต้นการสร้าง


เริ่มต้นด้วยการประกาศอย่างไม่เป็นทางการโดยผู้พัฒนา Dota ไอซ์ฟร็อก ผู้กล่าวว่าเขาจะนำทีมพัฒนาที่วาล์วเขาว่า ความร่วมมือระหว่างเขากับวาล์วนั้นเริ่มต้นขึ้นจากจดหมายที่ทางสตูดิโอส่งมา และถามว่าเขาต้องการเยี่ยมชมสถานที่ทำงานของพวกเขาหรือไม่ ผู้จัดการโครงการของวาล์วและผู้อำนวยการ Dota 2 อีริก จอห์นสัน ต่อมาได้ยืนยันที่ไอซ์ฟร็อกว่า และอ้างว่าได้ "ว่าจ้าง ไอซ์ฟร็อก ตรงนั้นเลย"
          มีข่าวไม่เป็นทางการอีกหลายข่าว รวมทั้งโพสต์ทวิตเตอร์จากนักแสดงพากษ์เสียงนุก ดูเคม จอน เซนต์จอห์น เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวว่า ไม่นานหลังจากไอซ์ฟร็อกบรรยายว่าเขาถูกว่าจ้างโดยวาล์ว บริษัทได้ทำการอ้างสิทธิ์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการจนกระทั่งเปิดเผยในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เมื่อเกมอินฟอร์เมอร์ประกาศรายละเอียดเฉพาะเกี่ยวกับเกมและการพัฒนา ซึ่งทำให้การเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นจนเกือบจะทำให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม ในวันเดียวกัน วาล์วได้ออกข่าวแจกอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับตัวเกม                                   อีริก จอห์นสันพูดถึงความสับสนเกี่ยวกับรูปแบบการเขียนของเครื่องหมายการค้า โดยกล่าวถึงมันอย่างชัดเจนว่า "Dota" มิใช่ "DotA" เนื่องจากบริบทที่เพิ่มขึ้นในแง่ของคำ มากกว่าที่เป็นตัวย่อของ "ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์
         เนื่องจากเป็นภาคต่อของดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ วัฏจักรการพัฒนาของ Dota 2 โดยพื้นฐานแล้วจึงมุ่งเน้นไปยังการส่งต่อลักษณะของ DotA ไปยังซอร์สเอนจิน เช่นเดียวกับการพัฒนารูปแบบการเล่นหลัก ในหน้าถาม-ตอบเปิดตัว ไอซ์ฟร็อกว่า Dota 2 จะเป็นการต่อเนื่องระยะยาวของเกม โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นดั้งเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบการเล่นหลักมากนัก ซึ่งอาจเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากเกม ไอซ์ฟร็อกว่า เพื่อที่จะเน้นย้ำหลักฐานที่ว่า Dota 2 เป็นเกมต่อเนื่องจาก DotA การร่วมมือจะยังคงสอดคล้องกับแหล่งที่มานอกทีมพัฒนาหลัก เพื่อปรับให้เข้ากับ Dota 2 วาล์วได้ทำงานเพื่ออัปเกรดซอร์สเอนจินเพื่อให้รวมไปถึงการจำลองเสื้อผ้าอย่างดี เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบแสง และการพัฒนาสตีมวอร์กส ซึ่งรวมไปถึงการต่อขยายอรรถประโยชน์ให้กว้างขวางขึ้น อย่างเช่น ระบบแนะนำผู้เล่นและระบบฝึกสอน


ลักษณะการเล่น DOTA 2 


แบบการเล่นที่มากที่สุดของเกมส์คือ การทำลายฐานทัพของฝ่ายตรงข้าม(Ancient)ที่มุมของmap
ดังรูป


       ซึ่งในเกมส์ ฐานทัพของแต่ละฝ่ายจะมีการป้องกันที่แน่นหนานั้นก็คือป้อมปราการที่คอยโจมตีเราโดยเราจะสวมบทบาทเป็นตัวละครต่างๆที่เรียกโดยรวมว่า Hero โดยแต่ละฝ่ายมี Hero ได้มากสุด 5 คนซึ่งจะมี หน่วยทหารในเกมส์ที่เรียกกันว่า Creep โดย มันจะเดินผ่านส่วนที่ชื่อว่า  "เลน" คือส่วนเชื่อมต่อกันหลายจุดที่เป็นทางใหญ่และโล่ง  ผู้เล่นจะได้เงินและอัพเลเวลฮีโร่ของตนจากการต่อสู้ โดยมีเลเวลสูงสุดที่ 25 และใช้ทองเพื่อซื้อไอเท็มระหว่างการเล่น (ในเกมส์เรียกว่าออกของ)                                    โดยการเล่นในเกมส์นั้นจะเล่นผ่านระบบบัญชี steam ซื่อในเกมส์จะการเล่นกับ ปัญญาประดิษฐ์(AI)หรือจะเล่นกับผู้เล่นคนอื่นก็ได้      
ตัวเกมส์นั้นจะมีระบบเพิ่ม item ในเกมส์ที่ชื่อว่า workshop โดย item มาจากการโหวตของผุ้ใช้งานใน steam หากมีคนโหวตมากๆ item นั้นจะถูกเพิ่มในเกมส์ โดยต้องติดอันดับตามที่กำหนด ตัวอย่าง itemดังรูป





ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก












Week 4 โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

kentucky-languages
นิยาม


ภาษา ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา; อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ"

ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม

 โปรแกรม หมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นระบบขั้นตอนสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ ทํางาน ซึ่งโปรแกรมที่จะใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้นั้นจะต้องเขียนด้วยภาษาที่ คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฎิบัติตามได้ เรียกภาษาทึ่ใช้สั่งคอมพิวเตอร์นี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์โดยผลลัพธ์จะได้ ตามความต้องการ ซึ่งกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ควบคุมการเขียนโปรแกรม คือ ภาษาโปรแกรม (Programming Language)


ภาษาโปรแกรม หมายถึง ภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่เป็นหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา โดยภาษานี้เป็นส่วนหนึ่งของ ภาษาคอมพิวเตอร์


โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการทำงาน ที่เป็นระบบขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมต่างๆ เช่น  java โปรแกรมภาษา C เป็นต้น

ระดับภาษาคอมพิวเตอร์

ระดับภาษาคอมพิวเตอร์ มี 3 ระดับ คือ

        1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถ
เขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) เป็นต้น


        2. ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็ว
เหมือนกับภาษาระดับต่ำ สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาซี เป็นต้น


        3.ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของ
การใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า Interpreter หรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compiler

ตัวอย่างข้อมูล โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ

ภาษาจาวา



ผู้สร้างและพัฒนา
เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์
จุดประสงค์
สร้างเพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++)
รูปแบบ
คล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C)
เหตุการณ์
ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project)
สำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995)
ข้อดี ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย

ข้อเสีย tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า
เกร็ดความรู้
แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน

ภาษาซี



ผู้สร้างและพัฒนา  เดนนิส ริชชี่  ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์
จุดประสงค์
เพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนา ระบบปฏิบัติการ ยูนิกซ์ แทนภาษาแอสเซมบลี
เหตุการณ์
เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973)
รูปแบบ
เครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์
ข้อดี ภาษา C ใช้ได้ในไมโครคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขนาด 8 บิต 16 บิต 32 บิต มินิคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม มีการพัฒนาการใช้งาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน

ข้อเสีย การเขียนโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันอาจทำได้หลายรูปแบบตัวดำเนินการบางตัวอาจทำให้สับสน
เกร็ดความรู้

ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล  และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก

ภาษาซีพลัสพลัส 



ผู้สร้างและพัฒนา 
เบียเนอ สเดราสดร็อบจากเบลล์แล็บส์
จุดประสงค์
เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม
เหตุการณ์
สร้างในปี ค.ศ. 1983
มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003
รูปแบบ
เหมือนภาษา C แต่สิ่งเพิ่มขึ้นนั้นเริ่มจากเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา
จึงกล่าวได้ว่าเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming)

เกร็ดความรู้
   ภาษาซีพลัสพลัสเดิมใช้ชื่อ "C with classes"ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990

ภาษาซีชาร์ป



 ผู้สร้างและพัฒนา 
พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ
จุดประสงค์
ภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก
เหตุการณ์ 
ไมโครซอฟท์ส่งมาตรฐานภาษาซีชาร์ปให้กับ Ecma และได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ECMA ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ในชื่อว่า ECMA-334 C# Language Specification 
ใน ค.ศ. 2003 ภาษาซีชาร์ปได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ISO (ISO/IEC 23270).
ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
รูปแบบ
 เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ  และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็น
ข้อดี รองรับ XML documentation คล้ายๆ javadoc คือเอาคอมเม้นต์ในโค้ดมาแปลงเป็นเอกสาร
ข้อเสีย ไม่มีการแจ้งเตือน เกี่ยวกับช่องว่าง ที่อยู่ใน Code ไม่ว่าคุณจะใส่ช่องว่าง จำนวนมาก อักขระ Carriage return หรือ Tap เป็นอักขระที่รู้จักกันในชื่อว่า White space นั่นหมายความว่า เรามีอิสระในการ ที่จะจัดรูปแบบ Source Code ของเราได้ ถึงแม้ว่าการทำตามกฏที่แน่นอน