ขอคุณที่มาจากhttp://www.cmswire.com
นิยาม
Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับผู้คนอีกหลายๆคน รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว) การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ
ประเภทของ Social Network
โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้ โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ ติดตาม หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น
2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter
3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์ นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้
แบ่งโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น
1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้ มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น เว็บรวมนักเขียนนิยาย เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network) เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้ โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น
ผลกระทบของSocial Network ต่อสังคมไทยและแนวโน้มอนาคต
สาเหตุที่โซเซียลเน็ตเวิร์คมีพลังมากในการสื่อสารในปัจจุบัน
1. เพราะมีคนใช้เยอะ โซเชียลเน็ตเวิร์คที่คนไทยนิยมใช้กันมากคือเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จากสถิติที่แสดงโดย socialbakers.com ในวันที่ 19 ธันวาคม 2554 พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กมีประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กประมาณ 9% จากสถิติที่แสดงโดย http://www.lab.in.th/พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์มีประมาณ 8 แสนคน แต่ที่ใช้กันทุกวันมีประมาณ 1 แสนคน
2. กลุ่มคนที่ใช้เป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมสูง มีเวลาและพลังในการกระจายข่าวและความคิดให้แก่คนอื่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 34% และช่วงอายุ 25-34 ปี 29%
3. มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการสื่อสารแบบอื่น เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มาจากเพื่อน คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารู้จัก โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นการสื่อสารในลักษณะปากต่อปาก
4. ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้ำ ผนังกำแพง ผนังวัด ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ในวงจำกัดและขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านโทรศัพท์แอปหรือเว็บแอปซึ่งรันอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทำให้ส่ิงที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลังมาก
ประโยชน์ของ Social Network
ข้อดีของ Social Network
ข้อเสียของ Social Network
1. เพราะมีคนใช้เยอะ โซเชียลเน็ตเวิร์คที่คนไทยนิยมใช้กันมากคือเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จากสถิติที่แสดงโดย socialbakers.com ในวันที่ 19 ธันวาคม 2554 พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กมีประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กประมาณ 9% จากสถิติที่แสดงโดย http://www.lab.in.th/พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์มีประมาณ 8 แสนคน แต่ที่ใช้กันทุกวันมีประมาณ 1 แสนคน
2. กลุ่มคนที่ใช้เป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมสูง มีเวลาและพลังในการกระจายข่าวและความคิดให้แก่คนอื่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 34% และช่วงอายุ 25-34 ปี 29%
3. มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการสื่อสารแบบอื่น เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มาจากเพื่อน คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารู้จัก โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นการสื่อสารในลักษณะปากต่อปาก
4. ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้ำ ผนังกำแพง ผนังวัด ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ในวงจำกัดและขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านโทรศัพท์แอปหรือเว็บแอปซึ่งรันอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทำให้ส่ิงที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลังมาก
ประโยชน์ของ Social Network
ข้อดีของ Social Network
- สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
- เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
- เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
- ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
- ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น
- คลายเคลียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
ข้อเสียของ Social Network
- เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
- Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
- เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
- ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
- ผู้ใช้ที่เล่น social network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้
- ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ social network มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรืองสนได้
- จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์
ตัวอย่างการใช้ Social Network ในกลุ่มของคนในสังคมไทย
1 กลุ่มการเมือง
ในประเทศไทย ผลกระทบของการใช้โซเชียลมีเดียในกลุ่มการเมืองยังไม่เห็นชัดเท่ากับในต่างประเทศ อาจจะเป็นเพราะส่วนใหญ่คนไทยที่ใช้โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่กระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑล จากข้อมูลที่เว็บไซต์ของเฟซบุ๊กในวันที่ 18 ธันวาคม 2554 พบว่าผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กในไทยอยู่ในกรุงเทพหรือเมืองที่อยู่ในช่วง 50 ไมล์ห่างจากกรุงเทพจำนวน 9,767,660 คน คิดเป็น 73.57 เปอร์เซนต์ของคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 13,276,200 คน
แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอาหรับซึ่งเริ่มจากประเทศตูนิเซีย ซึ่งประชาชนสามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อช่วยในการรวมตัวกันโค่นล้มผู้นำซึ่งอยู่ในอำนาจนาน 23 ปี จากนั้นประชาชนในประเทศอาหรับประเทศอื่น เช่น อิยิปต์ แอลจีเรีย เยเมน บาห์เรน และจอนดอน ก็ลุกขึ้นมาประท้วงความไม่เป็นธรรมของผู้นำในการปกครองบริหารประเทศหลายปี ในประเทศเหล่านี้ ประชาชนเหล่านี้อาจมีความรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลมานาน แต่ไม่มีช่องทางในการแสดงออกความรู้สึกไม่พอใจหรือในการรวมตัวกัน เห็นอกเห็นใจกัน และช่วยกันแสดงพลัง โซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้การประท้วงต่อต้านผู้นำที่เป็นเผด็จการของประเทศเหล่านี้ได้สำเร็จ
2. กลุ่มสังคมอาสาสมัคร
กลุ่มสังคมในไทยโดยเฉพาะกลุ่มพลังสังคมในเชิงบวกได้พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการปลุกกลุ่มคนไทยให้มีจิตอาสามากขึ้นหรือในการรวมตัวกันในการทำงานเพื่อสังคมของคนที่ีมีจิตอาสา อาทิเช่น
https://www.facebook.com/SiamArsa กลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ 164,155 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)และมีคนติดตาม
https://www.facebook.com/PositiveNetwork กลุ่มเครือข่ายพลังบวก ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ 126,580 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)และมีคนติดตาม
หรือล่าสุดจากเหตุการณ์การแผ่นดินไหวที่เนปาลที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนอย่างมากในการทำให้พลังประชาชนมีส่วนในการเข้าไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนประเทศอื่น ที่ให้ทั้งความรู้ สิ่งของ และความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
3. การค้าและเศรษฐกิจ
บุคคลที่เป็นตัวอย่างในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการค้าและเศรษฐกิจได้ดีคือคุณตัน ภาสกรนท ซึ่งเป็นคนที่มีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนคลิก like มากที่สุดในประเทศไทย มากยิ่งกว่าเฟซบุ๊กเพจของดารา ศิลปิน คุณตัน ภาสกรนทีมีเฟซบุ๊กเพจที่มีคนคลิก like 11,402,200 คน (ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)ซึ่งคุณตันใช้เพจประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณตัน
ในบรรดาธุรกิจต่างๆ พบว่าธุรกิจอาหารมีการสร้างเฟซบุ๊กเพจและมีคนเข้าไปคลิก like และติดตามข่าว อาทิเช่น McDonald Thai ซึ่งมีคนคลิก like 57,402,535 !!! คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)
ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทางโซเชียลมีเดีย คือ ธุรกิจทางด้านไอทีและเทเลคอม เช่น BlackBerry Thailand มีคนคลิก like ประมาณ 400,000 คน(ข้อมูล 3 ปีที่แล้ว) DTAC มีคนคลิก like ประมาณ 300,000 คน (ข้อมูล 3 ปีที่แล้ว)และ AIS มีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน (ข้อมูล 3 ปีที่แล้ว)
4. กลุ่มธรรมะ
เฟซบุ๊กเพจของท่าน พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มีคนเข้ามาคลิกชอบ 5,057,274 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)
ทวิตเตอร์ของท่าน พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มีคนตาม 1,029,000 คน นอกจากนี้ มี พระท่านอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ธรรมะ อาทิเช่น หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งมีคนคลิ like 216454 คน (ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)
5. กลุ่มสุขภาพ
มีกลุ่มนมแม่ ซึ่งมีคนคลิก like 89,692 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58) กลุ่ม rainbow room เพื่อสนับสนุนและให้ความรู้พ่อแม่ที่มีลูกที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ลูกที่เป็นออทิสติก https://www.facebook.com/specialrainbow ซึ่งมีคนคลิก like 6574 คน(ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)กลุ่มเฟซบุ๊กเพจ สสส ซึ่งมีคนคลิกอ358,332 คน (ณ วันที่ 17 มิ.ย. 58)
6 กลุ่มการศึกษานอกระบบ
มีทวิตเตอร์ของคุณ andrew biggs ซึ่งมีคนกด like 109,572 คน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.gotoknow.org/posts/471684
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น