Animated Cool Shiny Blue Pointer

Week 6 : วิเคราะห์ข้อสอบ O-net คอมพิวเตอร์ 5 ข้อ



ข้อสอบ O-Net ปี 52 รายวิชา วิทยาศาสตร์



ข้อ 1) เหตุใดผู้ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จึงมักปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (O-net 52)
       1. ไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
       2.  การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง 
       3.  แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อร่างกาย จึงถูกกำจัดทิ้งอย่างรวดเร็ว 
       4. ร่างกายควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ได้

ตอบข้อ 2 การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง 

เหตุผล

 ฮอร์โมนวาโซเปรสซิน(Vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก (Antidiuretic) หรือ ADH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก neuroscretory cell ของไฮโพทาลามัส แล้วเก็บไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนท้าย โดย ADH ทำหน้าที่ ดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตเพื่อลดแรงดันออสโมติกในกระแสเลือด (เมื่อร่างกายต้องการน้ำ)  โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกและ สารเคมี บางชนิด มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน ADH เช่น ความเย็น  สารคาเฟอีนในชา  กาแฟ และ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง


ข้อ 2) เมื่อหยดน้ำเกลือลงบนสไลด์ที่มีใบสาหร่ายหางกระรอกอยู่ จะสังเกตเห็นการ เปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดสารใดมากที่สุดและเกิดเร็วที่สุด (O-net 52)
       1. น้ำกลั่น
       2. น้ำเชื่อม
       3. น้ำนมสด 
       4. แอลกอฮอล์

 ตอบข้อ 4 แอลกอฮอล์

เหตุผล

     น้ำเกลือเป็นสารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution) ต่อเซลล์ใบสาหร่ายหางกระรอก  จะทำให้เซลล์สูญเสียน้ำ เช่นเดียวกับ เมื่อนำเซลล์แช่ในน้ำเชื่อม กับ แอลกอฮอลล์ แต่ในโจทย์ถามว่า การเปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดสารใดมากที่สุดและเกิดเร็วที่สุด ซึ่งสารที่ทำให้เซลล์สูญเสียน้ำเร็วที่สุดจะเป็นแอกอฮอล์ จึงมีการใช้แอลกอฮอล์มาเป็นน้ำยาตรึงสภาพของเซลล์


ข้อ 3) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย (O-net 52)
       1. เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง 
       2. ผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
       3. เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างโกลบิน
       4. ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้

ตอบ ข้อ 4. ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้

เหตุผล

         โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางจากพันธุกรรม โดยถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนออโตโซม เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มโปรตีน 2 ชนิด คือ อัลฟ่าโกลบินซึ่งถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 16 และเบต้าโกลบิล ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน โดยผู้ป่วยไม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ หัวใจ เลือดหมู เลือดไก่ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากการมีธาตุเหล็กมากเกินความต้องการของร่างกาย เพราะผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีธาตุเหล็กสูงในร่างกายอยู่แล้ว
ดังนั้นข้อที่ผิด คือ ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้  เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียโดยถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนออโตโซม จะแสดงออกได้เมื่อได้รับยีนด้อยจากทั้งพ่อและแม่


ข้อ 4) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิวเทชัน (O-net 52)

      1. มีอัตราการเกิดได้สูงตามธรรมชาติ
      2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ 
      3. เกิดขึ้นได้เฉพาะในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว 
      4. มิวเทชันในเซลล์ทุกชนิดสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลานได้

ตอบข้อ 2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ

เหตุผล

          มิวเทชัน แบ่งได้ 2 ระดับคือระดับ DNA และระดับโครโมโซม โดยในธรรมชาติจะเกิดในอัตราที่ต่ำ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์ร่างกายโดยทั่วไปจะไม่ถ่ายถอดความผิดปกติไปยังลูกหลาน


ข้อ 5) ข้อใดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (O-net 52)
       1. แตงโมไม่มีเมล็ด 
       2. กล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 
       3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน 
       4. กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ได้จากการฉายรังสีแกมมา

ตอบข้อ 3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

เหตุผล
           สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่าเทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant) ซึ่งในข้อนี้คือ แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โดยการตัดและต่อ DNA ให้มียีนที่สร้างอินซูลิน แล้วใส่เข้าไปในเซลล์แบคทีเรีย เพื่อให้เกิดการแสดงออกและสร้างพอลิเพปไทด์ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำเซลล์ไปเพื่อเพิ่มจำนวนยีนที่สร้างสายพอลิเพปไทด์ดังกล่าวและ ผลิตอินซูลินที่ทำงานได้


ขอคอบคุณข้อมูลจาก 
http://www.nana-bio.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น